วันอาทิตย์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

เพลี้ยลงนาข้าวลพบุรี



ปัญหาเพลี้ยกระโดดสำน้ำตาลในนาข้าว จัดอยู่ในมหันตภัยอย่างหนึ่งกับเกษตรกร เมื่อเกิดมีเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลระบาดในพื้นที่จะทำการแพร่กระจายคุมพื้นที่นาข้าวอย่างรวดเร็วชั่วระยะเวลา 14-15 วัน ทำให้นาข้าวเสียหายตายทั้งแปรงนา การกำจัดเพลี้ยกระโดดในขณะที่กำลังระบาดเป็นการยากสำหรับเษตรกร การดูดกินน้ำเลี้ยงและการปล่อยเชื้อไวรัสในต้นข้าวได้รวดเร็ว เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลตัวเมียเพียง 1 ตัว สามารถออกไข่ได้ 300-400 ฟอง/วัน และไข่เพลี้ยกระโดดจะทำการฟักเป็นตัวอ่อนได้ภายใน 7 วัน  เป็นการระบาดได้รวดเร็วมาก เกษตรกรมักแก้ปัญหาด้วยการฉีดพ่นด้วยยาฆ่าเพลี้ย หรือใช้วิธีหยอดน้ำยาในผิวน้ำ แต่เป็นการใช้วิธีกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ปลายเหตุ ไม่ทันกับอัตราการขยายพันธุ์การฟักไข่ของเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และปัญหาที่ต่อเนื่อง สารพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ สารตกค้างต่อสภาพแวดล้อม ราคาสารเคมีที่นับวันมีราคาแพงขึ้น


วิธีกำจัดเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลที่ได้ผลดีและปลอดภัยโดยใช้สารอินทรีย์

1.สารจุลินทรีย์(เชื้อราบูวาเรียสำเร็จรูป) ใช้ทดแทนสารเคมีในการฉีดพ่นได้ทุก 7 วัน ในระยะการฟักตัวไข่แมลงเพลี้ยกระโดด โดยทำการฉีดพ่นไปที่ตัวแม่ลงเพื่อหยุดการแพร่ระบาดจะทำให้ตัวแมลงเริ่มมีอาการป่วยและหยุดการกินอาหารล่วงหล่นในน้ำตายไป
2. สารอินทรีย์สกัดจากวิตามินพืช  ดับเบิ๊ลอี ใช้คุมไข่ของแมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพื่อควบคุม หยุดยั้งการฟักตัวของไข่แมลง ไม่เป็นอัตรายสำหรับผู้ใช้ และใช้ผสมกับเชื้อราบิววาเรียทำให้หยุดการแพร่ระบาดได้เร็วกว่าการฆ่าแมลงเพียงอย่างเดียว ใช้ผสมน้ำฉีดพ่นพร้อมกัน ทุก 7 วันต่อเนื่อง 2-3 ครั้งในบริเวณที่มีตัวและไข่แมลงเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล
3. สารอินทรีย์สังเคราะห์ ไรซ์โกลด์ ช่วยเพิ่มความแกร่งของเนื้อเยื่อต้นและใบของข้าว ป้องกันการดูดน้ำเลี้ยง ซึ่งทำให้เพลี้ยกระโดดที่เกาะอยู่บริเวณต้นข้าวดูดน้ำเลี้ยงของต้นข้าวได้ยาก หรือทำให้เพลี้ยย้ายถิ่นไปในพื้นที่อื่น หรือทำให้เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาลไม่มีอาหารหล่อเลี้ยง ตัวแมลงไม่สมบูรณ์ และไม่ทำการสืบพันธุ์ ไม่สามารถขยายพันได้  ใช้สารอินทรีย์สังเคราะห์ไรซ์โกลด์ ร่วมกัน เชื้อราบูวาเรีย และสารคุมฆ่าไข่ ดับเบิ๊ลอี ฉีดพ่นพร้อมกัน ได้ผลดียิ่งขึ้น

สอบถาม/สั่งซื้อ คุณฐนารักษ์ เฉิดสนิท โทร.086-2411850
email:  ka4314@hotmail.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น